คัมภีร์โบราณ แห่งพุทธศานา
หลักฐานอันล้ำค่าการจารึกคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นตัวอักษรที่เก่า แก่ที่สุดร่วม ๒๐๐๐ ปี เรื่องเกิดขึ้นในช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๖ – ๒๕๓๘ ชาวอัฟกานิสถานในเมืองบาบิยัน หลบหนีภัยสงครามตาลิบันเข้าไปอาศัยอยู่ในถ้ำเทือกเขาบาบิยัน และได้พบคัมภีร์โบราณ พวกเขาได้หอบหิ้วคัมภีร์หลบหนีการตรวจค้นและการทำลายของกลุ่มตาลิบัน เดินทางจากอัฟกานิสถานสู่ปากีสถาน ผ่านเทือกเขาฮินดูกูษและช่องแคบไคเบอร์ คัมภีร์ได้รับความเสียหายหลายครั้งในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เช่น ในพุทธศวรรษที่ ๑๒ และ ๑๓ จากการทำลายพุทธศาสนา และการระเบิดทำลายถ้ำและองค์หลวงพ่อใหญ่บาบิยันเมื่อไม่กี่ปีมานี้
สถาบันอนุรักษ์สเคอเยน ประเทศนอร์เวย์ ได้คัมภีร์โบราณชุดแรก ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ จากพ่อค้าของเก่าซัมฟ๊อก กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้วางแผนการขนย้ายคัมภีร์ทุกวิถีทาง ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๐ – ๒๕๔๓ (ในปีพ.ศ. ๒๕๔๔ ถ้ำแถบเทือกเขาบาบิยันได้ถูกระเบิดทำลายจนหมดสิ้นรวมทั้งองค์หลวงพ่อบาบิยัน สูง ๕๐ เมตร )ปัจจุบันสถาบัน ฯ สามารถอนุรักษ์คัมภีร์โบราณไว้ได้ประมาณ ๕๐๐๐ ชิ้นที่ยังเป็นชิ้นส่วนสมบูรณ์และแตกหักเล็กน้อย และส่วนที่เศษชิ้นเล็ก ๆ อีกประมาณ ๘๐๐๐ ชิ้น ทั้งหมดมีอายุระหว่างพุทธศวรรษที่ ๖ – ๑๒ การจารึกทำไว้ในใบลาน เปลือกไม้ หนังสัตว์และแผ่นทองเหลือง
นัก อักขรวิทยาและโบราณคดีได้ศึกษาอย่างละเอียด แต่ยังไม่สามารถสรุปสถานที่จารึกและวันเดือนปี ด้วยเหตุผลด้านภูมิศาสตร์ ดินแดนบาบิยันหรือแคว้นคันธาระเป็นดินถิ่นที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสืบ ต่อกันมาร่วม ๕๐๐ ปี การจารึกส่วนหนึ่งอาจทำขึ้นในอินเดียและปากีสถาน นักอักขรวิทยาได้ศึกษาบางพระสูตร เช่น จังกีสูตร มหาปรินิพพาน ปาฏิโมกข์ และกรรมวาจาจารย์ มีส่วนคล้ายกับพระสูตรแปลของจีน สันนิษฐานว่าเป็นพระไตรปิฎกของคณะสงฆ์มหาสังฆิกะ นิกายโลโกตตระวาทิน
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ นายกะสุยะ ยะมะอุชิ จากสถาบันวิจัยวัฒนธรรมภูมิปัญญาแห่งชาติ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้เดินทางสู่ซารคารัน พื้นที่บริเวณห่างประมาณ ๑.๒ ก.ม. ไปทางทิศเหนือของถ้ำที่ประดิษฐานหลวงพ่อบาบิยัน และได้ถ่ายภาพที่ปรากฏนี้ ไว้ ชาวบ้านอัพกานิสถานได้เล่าให้เขาฟังว่า เมื่อประมาณ ๑๐ ปีที่ล่วงมาแล้วได้เกิดแผ่นดินไหวอย่างหนัก ถ้ำแถบเทือกเขาบาบิยันปรากฎมีคัมภีร์โบราณไหลทะลักออกมาจากที่เก็บซ่อน กระจายทั่วพื้นถ้ำ กองอยู่สูงประมาณ ๑๐ ซ.ม. ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นธรรมเจดีย์คัมภีร์โบราณ ที่เก็บรักษาไว้ ณ สถาบันอนุรักษ์สเคอเยนก็ได้ อย่างไรก็ตามนักโบราณคดีจะต้องพิสูจน์และยืนยันข้อมูลให้ทราบต่อไป
ใน นามของรองนายกรัฐมนตรี และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จึงขอเชิญชวนทุกท่าน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์แห่งการเดินทางอัญเชิญพระคัมภีร์พุทธ ศาสนาโบราณ มายังประเทศไทย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเป็นการเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลวโรกาศที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุ ๘๔ พรรษา
พระพุทธรูปแห่งบามิยัน และพระคัมภีร์พุทธเก่าแก่ที่สุด
เดือน ธันวาคม 2539 เจนส์ บราร์วิก ศาสตราจารย์ด้านโบราณคดีแห่ง ศูนย์การศึกษาก้าวหน้า, นอร์เวย์ ได้ไปร่วมประชุมวิชาการที่เมืองไลเดน ผู้ร่วมประชุมคนหนึ่งได้เล่าให้เขาฟังว่า แซม ฟ็อกก์ พ่อค้าของเก่าแห่งนครลอนดอน ได้ขายชิ้นส่วนเอกสารโบราณของพุทธศาสนาจำนวน 108 ชิ้น แก่นักสะสมชาวนอร์เวย์ชื่อ มาร์ติน สเคอร์ยัน (Martin Schoyen) ผู้เป็นเจ้าของพิพิธภัณฑ์เอกสารโบราณที่ใหญ่ที่สุดของโลก พอได้ยินดังนั้น บราร์วิกเกิดความสนใจอย่างแรงกล้า จึงได้ไปพบกับสเคอร์ยันเพื่อขอศึกษาเอกสารดังกล่าว ซึ่งสเคอร์ยันก็ยินดีให้ความร่วมมือ และยังบอกเล่าให้ฟังเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้าที่ฟ็อกก์จะขายเอกสารให้เขานั้น ฟ็อกก์ได้ ติดต่อนักโบราณคดีชื่อ ลอเร แซนเดอร์ ให้ช่วย เขียนอธิบายความเป็นมาของเอกสารนี้ ซึ่งเมื่อแซนเดอร์นำไปวิเคราะห์ก็พบว่า มันถูกจารึกขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต ในช่วงราว พ.ศ. 540-940 เป็นพระคัมภีร์ในพุทธศาสนา ที่ว่าถึงพระสูตร พระวินัย ตลอดจนจารึกเหตุการณ์ต่างๆ หลากหลาย บางเรื่องก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว แต่เอกสารอีกหลายชิ้นมีเรื่องราวที่ไม่เคยปรากฏให้โลกรู้มาก่อน และเรียกได้ว่าเป็นเอกสารสำคัญ ที่เก่าแก่ที่สุดของพุทธศาสนา (ที่มีหลักฐานเหลืออยู่)
พระ คัมภีร์พุทธศาสนาเหล่านี้จารึกอยู่บนแผ่นวัสดุต่างๆ ได้แก่ ใบลาน เปลือกไม้ และหนังแกะ เจาะรูแล้วร้อยด้ายรวมไว้เป็นเล่ม บางเล่มอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ แต่ที่เป็นเศษเล็กเศษน้อยนั้นมีจำนวนมาก และเมื่อสืบหาข้อมูลต่อไป บราร์วิกก็พบว่า แหล่งที่มาของเอกสารสำคัญลํ้าค่านี้มิใช่อื่นไกล แต่ เป็นถํ้าต่างๆ แห่งเขาบามิยัน ในอัฟกานิสถานนั่นเอง! ก็ต้องเล่าย้อนถึงอดีตกาล ณ สถานที่แห่งนี้กันหน่อยละครับ
สมัยนับพันปี ก่อนโน้น อัฟกานิสถานเป็นดินแดนอยู่บนเส้นทางสายไหม อันลือลั่นเชื่อมทอดระหว่างยุโรปกับจีน และยังเป็นทางผ่านจากจีนไปสู่อินเดียด้วย ภิกษุในพุทธศาสนาได้จาริกจากอินเดียไปเผยแผ่ธรรมะยังเมืองจีนด้วยเส้นทางนี้ และเนื่องจากเป็นหนทางอันยาวไกล จึงได้พำนักระหว่างทางโดยอาศัยถํ้าต่างๆ ที่มีอยู่มากมาย ณ เชิงเขาบามิยัน ซึ่งไม่ ไกลจากกรุงคาบูล นครหลวงของอัฟกานิสถาน เท่าใดนัก
พระพุทธรูปแห่งบามิยัน
ผู้จาริก ศาสนาและนักเดินทางทั้งหลาย ต่างได้พบปะสนทนา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านอารยธรรมระหว่างกัน ในถํ้าพำนักนี้ จึงมีการจารึกพระคัมภีร์ ในพุทธศาสนาเป็นภาษาต่างๆ ทั้งจีน เตอรกี ทิเบต มองโกเลียน เมื่อมีเอกสารศาสนาเพิ่มมากขึ้น ก็ได้มีการจัดตั้งเป็นหอสมุดเก็บรักษาไว้ ซึ่งนานนับ 1,400 ปีมาแล้ว ที่เอกสารเหล่านี้ยังคงอยู่ในสภาพดี เนื่อง จากภาวะอากาศอันหนาวเย็น และแห้งแล้งของอัฟกานิสถานได้ช่วยรักษาสภาพไว้ไม่ให้เปื่อยผุไปได้ง่าย ถ้าจะเทียบนะครับ พระคัมภีร์พุทธในถํ้าที่บามิยันนี้ ก็มีลักษณะดุจเดียวกับ ม้วนพระคัมภีร์ในตุ่มแห่งเดดซี (Dead Sea Scrolls) ของชาวยิวนั่นเอง
ถ้า หากบ้านเมืองสงบสุข พระคัมภีร์พุทธเหล่านี้ก็จะยังคงอยู่ในถํ้าไปได้อีกนาน ทว่าหลังจาก พ.ศ. 1300 เป็นต้นมา พวกมุสลิมได้รุกรานยึดครองอัฟกานิสถาน เอกสารบางส่วนในหอสมุดได้ถูกทำลายเสียหายขาดวิ่น ชิ้นส่วนที่ยังเหลือรอดอยู่ ได้พบว่าถูกนำไปเก็บไว้ในถํ้าแห่งหนึ่ง ห่างจากบามิยันไปทางเหนือราว 300 กม. และเมื่อมุสลิมรุกรานหนักขึ้น ชาวพุทธเห็นว่าพระคัมภีร์เหล่านี้อยู่ใน สถานะไม่ปลอดภัยเสียแล้ว จึงได้แอบนำคัมภีร์ลํ้าค่าบรรทุกหลังลาลอบหนีออก จากอัฟกานิสถานเมื่อราว 5-6 ปีที่ผ่านมานี้ โดยเดินทางผ่านช่องเขาฮินดูกูษ และได้มีการส่งทอดกันต่อๆ ไปจนถึงลอนดอน และไปอยู่ในพิพิธภัณฑ์ที่นอร์เวย์ ในท้ายที่สุด
พระพุทธรูปแห่งบามิยัน
หลัง จากที่โปรเฟสเซอร์บราร์วิกได้รู้ถึงแหล่งที่มาของพระคัมภีร์พุทธแล้ว คราวนี้พิพิธภัณฑ์ที่สเคอร์ยันก็ได้พยายาม “ขนย้าย” พระคัมภีร์ที่ยังเหลือตกค้างอยู่ในอัฟกานิสถาน ออกมาเก็บรักษาเอาไว้ โดยใช้วิธีการทุกรูปแบบ กระทั่งนำเอาออกมาได้เกือบหมด ก่อนหน้าที่พระพุทธรูปบามิยันจะถูกทำลาย และอัฟกานิสถานถูกกองทัพสัมพันธมิตรถล่ม
เอกสารพระคัมภีร์ที่ทยอยนำมา นั้น เมื่อรวมกันตั้งแต่ต้นแล้ว ปัจจุบันมีอยู่ราวๆ 5,000 ชิ้น ที่ยังเป็นรูปเป็นร่าง กล่าวคือเป็นชิ้นส่วนของแผ่นจารึก ใบลาน เปลือกไม้และหนังแกะ ที่มีขนาดตั้งแต่ 2 ตารางเซนติเมตร ไปจนเป็น แผ่นที่สมบูรณ์ นอกนั้นเป็นเศษกระจิริดอีกราว 8,000 ชิ้น เมื่อได้รับชิ้นส่วนพระคัมภีร์มาแล้ว ทางพิพิธภัณฑ์จะทำความสะอาดจัดเตรียมเก็บ ทำก๊อบปี้ และลงหมายเลขกำกับแต่ละชิ้นไว้ เพื่อทำการศึกษาค้นคว้าต่อไป
ซึ่งในการ “ชำระ” สังคายนาพระคัมภีร์ที่ได้มานี้ มิใช่ของง่ายเลยครับ จัดเป็นงานระดับยักษ์ที่ต้องอาศัย ผู้รู้จริงจำนวนมาก ทางพิพิธภัณฑ์ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2540 โดย มีการสัมมนาครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2540 และท้ายสุดครั้งที่สี่ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2542 ที่เมือง เกียวโต, ญี่ปุ่น โดยมีการเชิญนักโบราณคดีนานาชาติมาร่วมงาน มีการจัดพิมพ์เผยแพร่บางเรื่องที่ได้แปล และเรียบเรียงเสร็จแล้ว เช่น เรื่องของพระเจ้าอโศกมหาราช, พระเจ้าอชาตศัตรู และมหาปรินิพพานสูตร เป็นต้น
ความคิดเห็น